เครือเจริญโภคภัณฑ์ยึดมั่นในการดำเนินการตามแนวทางของ UNGC’s Caring for Climate โดยมุ่งเน้นถึงการจัดการประเด็นความเสี่ยงและการสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจ ผ่านแนวทางการบริหารจัดการ ได้แก่
เครือเจริญโภคภัณฑ์ยึดมั่นในการดำเนินการตามข้อกำหนดของ CEO Water Mandate โดยได้ประกาศมาตรฐานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งสอดคล้องตามมาตรฐานสากล ISO 14001 เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานของทุกกลุ่มธุรกิจมีความสอดคล้องกัน โดยมีแนวทางการบริหารจัดการดังนี้
เครือเจริญโภคภัณฑ์มุ่งมั่นดำาเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพมาโดยตลอด โดยยึดมั่นดำเนินการตามหลักการดังกล่าวตั้งแต่การเลือกสถานที่ตั้งสถานประกอบการที่ต้องไม่อยู่ในแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตํามระเบียบ ข้อบังคับ มาตรฐาน และกฎกระทรวงที่กำหนดไว้ และมีการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ เครือฯ ยังให้ความสําคัญกับการจัดหาวัตถุดิบ ทางการเกษตรที่มาจากแหล่งที่รับผิดชอบและไม่บุกรุกพื้นที่ป่าและทรัพยากรทางทะเล มีส่วนร่วมผลักดันการปกป้อง ฟื้นฟูระบบนิเวศบนบกและป่าไม้เพื่อความสมดุลของระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
เครือเจริญโภคภัณฑ์ตระหนักดีว่าการขับเคลื่อนความยั่งยืนของภาคธุรกิจในระยะยาวจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่อุปทาน จึงให้ความสำคัญต่อการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างรับผิดชอบ พร้อมมุ่งมั่นสนับสนุนและร่วมเสริมสร้างความยั่งยืนตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้วยเป้าหมายในการจัดหาวัตถุดิบหลักอย่างรับผิดชอบและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ควบคู่ไปกับการประเมิน ความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน การป้องกันคู่ค้าธุรกิจไม่ให้เกิดการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการทำงานร่วมกับคู่ค้าธุรกิจหลักเพื่อให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดทำแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ซึ่งกำหนดความคาดหวังต่อคู่ค้าธุรกิจ ครอบคลุมการทำงานใน 4 ด้านหลัก ได้แก่
นอกจากนี้ เครือฯ ยังมุ่งมั่นพัฒนาระบบการตรวจสอบย้อนกลับแบบออนไลน์ตลอดห่วงโซ่การผลิตอาหาร (Whole Chain Online Traceability) ตั้งแต่การตรวจสอบแหล่งที่มาของวัตถุดิบว่ามาจากแหล่งเพาะปลูกหรือแหล่งผลิตที่รับผิดชอบ ไปจนถึงกระบวนการการผลิตอาหารสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปอาหาร และการกระจายสินค้า โดยมุ่งหวังที่จะใช้ระบบสอบกลับดังกล่าวให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้บริโภคและสังคมด้วยการลดความเสี่ยงจากการจัดการห่วงโซ่การผลิตอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถตรวจสอบ ตัดสินใจและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาสุขภาพที่มาจากอาหาร (food-outbreak) รวมถึงปัญหาด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานที่พบได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ