เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้จัดทำนโยบํายด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง มีผลบังคับใช้กับทุกกลุ่มธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ และยังได้ริเริ่มพัฒนากระบวนการตรวจสอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย การประเมินความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชน การกำหนดแผนและแนวทางการแก้ไขเพื่อลดความเสี่ยง รวมถึงการเฝ้าระวังและติดตามความเสี่ยงดังกล่าว
เครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังมุ่งมั่นผลักดันให้ภาคส่วนต่างๆ เคารพและผดุงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชน โดยสนับสนุนการฝึกอบรม แนวปฏิบัติ และมาตรการควบคุมต่างๆ ภายในเครือเจริญโภคภัณฑ์ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าทุกกลุ่มธุรกิจมีการบริหารจัดการความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของตนอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นการดําเนินงานเชิงรุกเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นกับการจ้างแรงงาน โดยมีนโยบายชัดเจนที่จะไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ รวมถึงการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมาย อีกทั้งยังให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เอื้อให้พนักงานซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งด้านอายุ เพศ วัฒนธรรม สภาพร่างกาย และบุคลิกภาพ ได้มีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้ความสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานและผู้เกี่ยวข้อง มีจุดมุ่งหมํายในการที่จะก้าวไปสู่การเป็นองค์กรที่ปลอดอุบัติเหตุ และโรคจากการทำงาน ผ่านการบูรณาการความร่วมมือในการดำเนินงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร
เครือเจริญโภคภัณฑ์ส่งเสริมการพัฒนาผู้นำและทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้บริหาร พนักงาน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจทุกคนเป็น "คนดี คนเก่ง และมีความเป็นผู้นำ" มีความรู้และมีทักษะในการบริหารจัดการธุรกิจให้ได้ตามมาตรฐานระดับโลก และยึดปรัชญาสามประโยชน์เป็นหลักในการดำเนินงาน
เครือเจริญโภคภัณฑ์ มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนระบบทรัพยากรบุคคลให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผ่านโครงการจัดระบบงานบุคคลเครือเจริญโภคภัณฑ์และกลุ่มธุรกิจ (Global HR Transformation Project) และยังส่งเสริมให้พนักงานและผู้นำองค์กรเข้าอบรมหลักสูตรพัฒนาผู้นำที่สถาบันผู้นำเครือเจริญโภคภัณฑ์ (C.P. Leadership Institute; CPLI) ที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่และเอื้อต่อการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ระหว่างสายงานหรือหน่วยธุรกิจที่หลากหลายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับการอบรมพนักงานและผู้นำองค์กรร่วมกับพันธมิตรธุรกิจ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านเครือข่ายทรัพยากรบุคคลและเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจอีกด้วย
เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้จำแนกผู้มีส่วนได้เสียเป็น 10 กลุ่ม ได้แก่ พนักงาน ลูกค้าและผู้บริโภค คู่ค้าธุรกิจ ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนชุมชนและสังคม ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน คู่แข่ง และเจ้าหนี้โดยได้สร้างช่องทางการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียผ่านกลไกและด้วยความถี่ในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการสานเสวนาแลกเปลี่ยนทัศนะมากที่สุด เพื่อให้มั่นใจว่าการตอบสนองต่อความคาดหวังและข้อกังวลของผู้มีส่วนได้เสียจะเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เครือเจริญโภคภัณฑ์ กำาหนดให้ทุกกลุ่มธุรกิจพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมการระบุผู้มีส่วนได้เสีย ความต้องการหรือความคาดหวัง ตลอดจนพัฒนาช่องทางการสร้างการมีส่วนร่วม ช่องทางการรับข้อร้องเรียนและกระบวนการตรวจสอบทุกข้อร้องเรียนที่อาจเกิดขึ้น และให้ความสำคัญต่อการสร้างความตระหนักของพนักงานในองค์กรเพื่อสร้างความเข้าใจและนำไปสู่การนำไปปฏิบัติอย่างเป็นระบบ